logoedukey

Solution Engineer อาชีพสายคอมที่ตอบโจทย์การพัฒนาซอฟต์แวร์

1 กุมภาพันธ์ 2566นิโลบล อักษรโศภณพันธุ์แนะแนวอาชีพ 126

แชร์บทความนี้

Solution Engineer อาชีพสายคอมที่ตอบโจทย์การพัฒนาซอฟต์แวร์

    วันนี้ Edukey ได้มีโอกาสพูดคุยกับอาชีพที่อยู่เบื้องหลังโซเชียลมีเดียที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และ ทำให้มนุษย์ติดต่อกันได้สะดวกสบายมากขึ้น แบ่งปันเรื่องราว ทำธุรกิจ ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน นั่นคืออาชีพ Solution Engineer โดยคุณสิรภพ ร่มโพธิ์ จาก LINE Thailand 

Solution Engineer คือ 

    เป็นอาชีพที่ต่อยอดมาจาก Software Engineer คือ คนที่ทำหน้าที่พัฒนา Software ในเชิง Engineering เมื่อได้รับโจทย์มา ต้องดูความเป็นไปได้ในการทำสิ่งนั้น วิเคราะห์ว่ามีทางไหนบ้างที่จะสามารถทำได้จริง แล้วก็ทำออกมาในรูปแบบเทคโนโลยี โดยให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้ วิธีในการทำงานก็มี การเขียนโค้ด การทำ Server ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าใช้งานได้จริง เรียกได้ว่าต้องดูตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ใช่เพียงเขียนโค้ดอย่างเดียว

“ การที่องค์กรมี Solution Engineer ก็จะช่วยให้องค์กรมีการเคลื่อนที่ที่เร็วมากขึ้น และ ทำงานตอบสนองได้กับทุกบริบทในการใช้ชีวิต หรือ การทำธุรกิจ ”

การจะมาเป็น Solution Engineering ได้ 

    อย่างแรกต้องรู้จัก Product Life Cycle คือ การรู้จักขั้นตอนการพัฒนาแต่ละขั้นของ Software คล้ายวงจร การวิวัฒนาการของสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์ ต่อมาคือทักษะของการ Programing การเขียนโค้ด ที่ต้องมีเป็นความรู้พื้นฐาน เพราะอาชีพ Solution Engineering เป็นอาชีพที่ต่อยอดมาจาก Software Engineer เรื่องการเขียนโค้ด เขียนโปรแกรมจึงสำคัญ และ ต้องศึกษาเรื่อง Logical Thinking ความคิดเชิงตรรกะ และ การแก้ปัญหาเชิงระบบ มีความสำคัญในการตัดสินใจ และ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและสร้างสรรค์ นอกจากนี้คือ มีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ และ  Software


ทักษะที่ Solution Engineering ต้องมี 

    การจะทำอาชีพใดอาชีพหนึ่งได้ในปัจจุบันมีทักษะอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ Hard skills, Soft skills และ Meta skills ซึ่ง Hard skills คือ ทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการทำงานแต่ละสายอาชีพ Solution Engineering ก็คือ ทักษะการเขียนโค้ด หรือ Programing, Soft skills คือ ทักษะหรือความสามารถเฉพาะบุคคลเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพที่สำคัญในการทำงานด้านนี้ คือ ทักษะการสื่อสาร ต้องพูดคุยกับคนในทีม และ คนภายนอกด้วย ส่วน Meta skills คือ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ สนุกกับการแก้ปัญหา ชอบพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย นั่นก็เป็นงานของ Solution Engineering


การทำงาน และ รายได้ปัจจุบันที่ Solution Engineering ได้รับ

    ในตอนนี้ อาชีพนี้มีการแข่งขันค่อนข้างสูง หลายบริษัทต้องการตำแหน่งนี้กันเยอะพอสมควร และในการทำงานนี้เองต้องอาศัยทีมประกอบด้วย Programmer & Solution Engineer ที่ทำงานด้านการวิเคราะห์ และ เขียนโปรแกรม, QA ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ และ Project Manager ที่ทำหน้าที่ประสานงานทีมกับ Product owner และ ทีมอื่น ๆ โดยบริษัทนี้ได้มีการทำงานแบบ Hybrid Workplace ทำงานที่บ้าน หรือ ออฟฟิศ ก็ได้ โดยมีการสื่อสารงานแบบ Async การทำงานที่สามารถไปทำงานอื่นได้เพื่อรอให้งานหนึ่งเสร็จ มีทั้งใช้ Slack หรือ Discord ในการคุยงาน 

    ซึ่งรายได้ของเด็กจบใหม่ที่เลือกงานสายนี้ เริ่มต้น 25,000 - 30,000 บาทต่อเดือน  และ อีกขั้นนึง Junior 40,000 - 50,000 บาท ซึ่งรายได้จะลดหรือเพิ่มก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์


แนะนำน้อง ๆ ที่สนใจ 

    คุณสิรภพได้ให้คำแนะนำสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจงานสายนี้ไว้ ให้เริ่มดูก่อนว่าสนใจบริษัทไหนเป็นพิเศษ เพื่อหาที่ทำงานที่อยากไปรองรับไว้ก่อน ถ้าคนที่สนใจพวกบริษัทเทคโนโลยี ก็ให้ติดตามเว็บไซต์ โซเชียลของบริษัทนั้น ๆ เพื่อตามข่าวสารการรับสมัคร หรือ การร่วมทำกิจกรรม และหากมีคนรู้จัก เพื่อน หรือ Connection ก็ช่วยได้เหมือนกันในการเข้ามาทำงานสายนี้

“ หาทางออกให้กับปัญหาและสร้างให้มันเป็นจริง ”