วิศวกรหุ่นยนต์ อาชีพสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัด
20 มกราคม 2566 ● Edukey Thailand ● แนะแนวอาชีพ 33
แชร์บทความนี้
“ ถ้าโลกนี้ไม่มีหุ่นยนต์อีกต่อไป ผมว่าเราเดือดร้อนแน่ ๆ ความสามารถหลาย ๆ อย่างของคน ถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร และ หุ่นยนต์ไปแล้ว ไม่สามารถจะซื้อรถยนต์คันละ 5 - 6 แสนได้แล้ว ถ้าไม่มีหุ่นยนต์ก็อาจจะกลายเป็นคันละ 20ล้าน ”
วันนี้ Edukey ได้พูดคุยกับ คุณช้าง มหิศร ว่องผาติ วิศวกรหุ่นยนต์ท่านหนึ่งที่เคยได้รับรางวัลระดับโลก
จากความชอบสู่อาชีพ
คุณช้างได้พูดถึงสิ่งที่ชอบสมัยเด็ก เป็นคนชอบทำเรื่องเกี่ยวกับประดิษฐ์ ต่อวงจร และ ได้มีโอกาสได้ทำโครงงาน ลองทำหุ่นยนต์เพิ่มความมั่นใจว่าชอบด้านนี้ จนศึกษาต่อคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้ลองทำกิจกรรมที่หลากหลาย ส่งหุ่นยนต์เข้าประกวดได้รับรางวัล จนปัจจุบันได้ทำงานในสายการผลิตหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร จะเห็นได้ชัดเลยว่าการที่ได้รู้ว่าชอบอะไรตั้งแต่แรก ช่วยค้นหาตัวเองได้ไวขึ้น และ ได้รู้ว่าจะประกอบอาชีพอะไรต่อไปนั่นเอง
“ พอเราอยากจะทำอะไรที่มันสนุกสุด โดยที่เราไม่รู้ลิมิต มันก็ทำได้นะ ”
หัวใจของการเป็นวิศวกรหุ่นยนต์
อาชีพวิศวกรหุ่นยนต์ คือการสร้างหุ่นยนต์ หรือ เครื่องจักร ออกมาแทนคน เพื่อให้คนเกิดความอันตรายน้อยลง สะดวกมากขึ้น รวมไปถึงการลดต้นทุนได้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งหัวใจของอาชีพสร้างสรรค์หุ่นยนต์ คือการสร้างเพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งก็จะมีความยากในการทำธุรกิจนี้ ไม่ใช่ความยากในการสร้างหุ่นยนต์ แต่ยากที่จะทำให้คนเข้ามาซื้อ
ขั้นตอนการทำหุ่นยนต์ ฉบับย่อ
การจะทำหุ่นยนต์ได้ ต้องเริ่มจากการศึกษาผู้ใช้ว่าต้องการเทคโนโลยีแบบไหนมีความมุ่งหวังอย่างไร ในการช่วยแก้ไขปัญหา โดยเป็นการทำงานร่วมกันของ Designer และ Engineer รวมไปถึงทีม Marketing ด้วยเช่นกัน แล้วทำในส่วนของการออกแบบ และ พัฒนาหุ่นยนต์ ตามโจทย์ที่ได้รับ ขั้นตอนนี้จะจบที่การสร้างหุ่นยนต์ตัวอย่างและทดสอบ จนกว่าจะใช้งานได้จริง แล้วจึงดำเนินการขั้นตอนผลิตหุ่นยนต์ ที่จะต้องอาศัยวัสดุที่เหมาะสมกับการทำงาน และ ได้ทำออกมาตามที่วางแผนไว้นั่นเอง
ทักษะที่ควรมีเมื่อจะเป็นวิศวกรหุ่นยนต์
ทักษะความสามารถที่คนอยากเป็นวิศวกรหุ่นยนต์ต้องมีอย่างแรก คือความรู้ด้านวิศวกรหุ่นยนต์ เรียกได้อีกอย่างว่า Hard skill ด้านวิศวกรรม นอกจากนี้คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม เพราะการสร้างสรรค์หุ่นยนต์ออกมาได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากวิศวกร และ ช่างฝีมือหลายฝ่ายด้วยกัน การมีปฏิสัมพันธ์ และ การทำงานเป็นทีมจึงสำคัญ ต่อมาคือการมีความสนใจในหลากหลายด้าน เพราะต้องอาศัยความรู้ที่หลากหลาย ทั้งด้านการทำงานให้ตอบโจทย์ ดีไซน์ที่ใช้ง่าย สะดวก น่าซื้อ ทั้งหมดนี้ต้องการวิศวกรหุ่นยนต์หลายคน และ หลายความสามารถ และที่สำคัญมากคือ พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ปิดกั้นตัวเอง ทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และ เท่าทันโลก สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เป็นวิศวกรหุ่นยนต์ที่ดีได้
แชร์บทความนี้
บทความที่คนเข้าอ่านมากสุดประจำสัปดาห์

อาชีพ Paramedic ทีมแพทย์ฉุกเฉิน ที่น้อยคนจะรู้จัก
12966

คำดูถูกไม่สำคัญ ฉันจะทำงานอาร์ตที่ชอบ
1585

แพทย์ความงาม ที่ไม่ได้ทำเพื่อความสวยงามแต่ทำเพื่อรักษาโรคและความมั่นใจ
1180

รู้จัก ผู้ช่วยผู้กำกับ อาชีพที่ไม่ได้ช่วยแค่ผู้กำกับ
1065
