Track ระบบการเรียนใหม่ ปั้นเด็กมอปลาย ให้รู้เป้าหมายในอนาคต
23 กันยายน 2565 ● Edukey Thailand ● สาระความรู้ 127
แชร์บทความนี้
“ยังไม่รู้เลยว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยคณะอะไร” “ไม่รู้เลยว่าอาชีพที่อยากทําคืออะไร”
“ทํายังไงถึงจะรู้ตัวเองว่าชอบอะไรจริง ๆ”
คําถามมากมายเกิดขึ้นกับเหล่านักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย เมื่อโตขึ้น การค้นหาตัวเองก็กลับทําได้ยากมากขึ้นตาม ตอนเด็กอาจจะเคยแน่วว่า อยากเป็นหมอ อยากเป็นครู หรืออยากเป็นตํารวจ แต่พอโตมาเรื่อย ๆ กลับไม่ชอบแล้ว กลับไม่ได้สนใจแล้ว แต่ถ้ามาถามว่า
“อ่าว แล้วอย่างนี้อยากจะเป็นอะไรหละ”
ก็คงยังไม่สามารถ ตอบได้อยู่ดี ก็ยังไม่รู้เลยนี่หน่าว่าแต่ละอาชีพ แต่ละสาขา เขาทําอะไร เขาเรียนอะไร และเขาต้องรู้อะไรบ้าง
ระบบการศึกษาในรั้วโรงเรียนมัธยมปลายในปัจจุบัน แบ่งเป็น สายวิทย์-สายศิลป์ และสิ่งที่เหล่านักเรียนรู้ และจําได้มาตลอดก็คือ ถ้าอยากเรียนหมอ อยากเรียนวิศวะ ก็ต้องเรียนสายวิทย์ หรือถ้าอยากเรียนนิเทศน์ เรียนมนุษย์ศาสตร์ ก็ควรจะเรียนสายศิลป์ แล้วถ้าเรายังไม่รู้หละว่าอยากเรียนคณะไหนในมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็ต้องเลือกจากความชอบในวิชาที่เรียนตอนมอต้นสินะ โอเค เราไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์แน่ ๆ อย่างนั้นเราไป สายศิลป์ดีกว่า หรือเราไม่ได้สนใจในภาษาแน่ ๆ งั้นไปสายวิทย์แล้วกัน เลือกแบบนี้ไปก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ หลังจากเรียนมอปลายแล้วว่าจะเลือกเข้าคณะอะไรดี แต่เมื่อเข้ามาเรียนมอปลายก็ค้นพบว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้มาแทบ จะไม่ได้ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าเราเหมาะที่จะเข้าคณะไหนในมหาวิทยาลัย เพราะวิชาที่ได้เรียนก็จัดได้ว่าเหมือนตอน มอต้นเด๊ะ ๆ แต่เพิ่มระดับความยากขึ้นมาเท่านั้น อย่างนี้ เด็ก ๆ จะค้นหาความชอบและความสนใจจากที่ไหนหละ
แต่ความหวังยังไม่จบสิ้นเมื่อเรามารู้จักกับ “Track” ระบบการเรียนแยกย่อยซึ่งจะจําแนกคณะในมหาวิทยาลัยตามแผนการเรียนสายวิทย์และสายศิลป์ แต่จะไม่ได้เปลี่ยนหลักสูตรมัธยมปลายไปโดยสิ้นเชิง เพราะนักเรียนยังต้องเรียนวิชาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดิม เพิ่มเติมคือนักเรียนสามารถเลือก Track เสริมตามคณะที่ตนสนใจได้ เหมือนเป็นการทดลองเรียนเพื่อให้รู้ว่า เมื่อเราเข้ามหาวิทยาลัยไปเรียนในคณะนั้น ๆ แล้วเราจะชอบมันจริง ๆ หรือไม่ ซึ่ง Track เป็นหลักสูตรที่ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนาน แต่ยังไม่มีการนํามาใช้จริงกับการเรียนในรั้วโรงเรียนสักที
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้โรงเรียนชายล้วนชื่อดังอย่าง “กรุงเทพคริสเตียน” ได้เปิดเผยว่าพวกเขาได้ใช้ ระบบการเรียนแบบ Track ในชื่อระบบ “BCC Next” กับแผนกมัธยมปลายของโรงเรียนมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งระบบนี้จะแตกสายวิทย์ และสายศิลป์ ออกมาเป็น 15 แขนง ประกอบไปด้วย
1. แพทยศาสตร์ และกลุ่มสาขา สาธารณสุขศาสตร์
2. วิศวกรรมศาสตร์ชีวภาพ
3. วิศวกรรมศาสตร์
4. วิศวกรรมหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์
5. วิศวกรรมการบินและอวกาศ
6. สถาปัตยกรรมศาสตร์ ในสายวิทย์
7. บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี
8. สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
9. อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์
10. ศิลปกรรมศาสตร์ จิตรกรรม ประติมากรรม
11. นิเทศศาสตร์ ภาพยนตร์ และสื่อดิจิทัล
12. ศิลปะการอาหาร
13. วิทยาศาสตร์การกีฬา
14. ดนตรี - นิเทศศิลป์ SCA
15. ดุริยางคศิลป์ (มีการวางแผนจะเปิดในอนาคต) ในสายศิลป์
ซึ่งในแต่ละสาขา นักเรียน จะได้เรียนรู้การเรียนจริงที่ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยทางโรงเรียนจะมีการพูดถึงแผนการเรียนแบบ BBC Next กับนักเรียนตั้งแต่ในระดับชั้นมัธยมต้น ทําให้นักเรียนสามารถตัดสินใจ และเตรียมตัวที่จะเลือกแผนกที่ตนสนใจได้ ซึ่งถ้าหากเลือกและเข้ามาเรียนแล้วกลับ รู้สึกว่าไม่ชอบ ก็สามารถที่จะทําเรื่องเปลี่ยนสาขาได้ภายในระยะเวลาสองเทอมแรก เพื่อที่ในปีถัดไป หรือในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนจะได้เรียนสาขาใหม่ที่ตนสนใจจริง ๆ มาถึงตรงนี้แล้วน้อง ๆ ก็คงจะมีความคาดหวัง และมีความหวังมากขึ้น ว่าตนเองจะได้เรียน ได้ศึกษาใน คณะที่ชอบ ตัวเลือกที่ใช่ แล้วใช่ไหมหละคะ พี่ก็คิดเหมือนกัน
หลักสูตรการเรียนแบบ Track นอกจากจะมีข้อดีใน การทําให้น้อง ๆ รู้จักตัวเอง และมีความพร้อมมากขึ้นในการเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ยังเหมือนเป็นการก้าวข้าม ระบบเดิม ๆ ของการศึกษาไทยที่ควรจะถูกเปลี่ยนและพัฒนาขึ้นไปในทางที่ดี และสามารถผลิตบุคลากรที่มี ความสามารถและความรักในสายงานของตนได้อย่างแท้จริง
พวกเราชาว Edukey ขอเป็นอีกหนึ่งกําลังใจ และแรงผลักดัน ที่จะทําให้การศึกษาไทยสามารถก้าวไปสู่จุด ที่สมบูรณ์และสวยงามอย่างมีคุณภาพมากที่สุด
สู้ไปด้วยกันค่ะ!
แชร์บทความนี้
บทความที่คนเข้าอ่านมากสุดประจำสัปดาห์

อาชีพ Paramedic ทีมแพทย์ฉุกเฉิน ที่น้อยคนจะรู้จัก
11967

คำดูถูกไม่สำคัญ ฉันจะทำงานอาร์ตที่ชอบ
1491

แพทย์ความงาม ที่ไม่ได้ทำเพื่อความสวยงามแต่ทำเพื่อรักษาโรคและความมั่นใจ
1064

รู้จัก ผู้ช่วยผู้กำกับ อาชีพที่ไม่ได้ช่วยแค่ผู้กำกับ
1001
