Executive Producer คนที่สร้างความสมดุลให้ เงินและภาพยนตร์/ซีรี่ส์
20 กันยายน 2565 ● Edukey Thailand ● แนะแนวอาชีพ 64
แชร์บทความนี้
วันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Executive Producer โปรเจกต์ Hurts Like Hell ที่ฉายทาง Netflix นิ้ง ภัทนะ จันทร์เจริญสุข ผู้ผ่านการเป็น Producer รายการสารคดีออกทาง Thai PBS ช่อง 5 ช่องอมรินทร์ เช่น รายการ สภาวะสูญญากาศ, เดินทวนน้ำ, ซื้อเก่ง และ คนเปลี่ยนโลก ในช่วงแรก นิ้ง ก็เป็น Producer จนกระทั่งรุ่นน้องเก่ง ๆ เข้ามาทำเยอะขึ้นก็ขยับมาทำ Executive Producer สามารถเรียกได้ง่าย ๆ อีกชื่อคือ ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายผลิต มีหน้าที่หลักคืออำนวยความสะดวกให้ทีมงาน สามารถทำงานออกมาได้ ตามแผน มาดูกันว่าทำอย่างไรจึงได้มาเป็น Executive Producer
กว่าจะได้มาทำหนัง
ตอนเรียนมัธยม ไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร อยากเรียนอะไร เลือกสายวิทย์ไปก่อนเพราะเขาบอกกันว่าสายนี้ไปได้กว้างกว่า แต่เรียนไปเรียนมาแล้ว ไม่ใช่ รู้สึกท้อแท้มาก และไม่มีเป้าหมายในชีวิตเลย แต่ครอบครัวก็มีธุรกิจเช่าวิดีโอ ได้ช่วยที่บ้าน เลือกหนัง ดูหนัง ก็พอจะรู้ว่าตัวเองจะมาอยู่ที่นี่แหละ เลยขอแม่มาเรียนสายศิลป์ ได้ความคิดใหม่ว่า ถ้าเรียนที่ตรงกับเรามันจะไปได้ไกลกว่า มากกว่ารอโอกาสกว้าง ๆ แต่ไม่รู้เราจะไปได้จริงไหม พอถึงตอนสอบโควต้า “ก็ไม่รู้ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง” แต่คิดว่าเป็นครูน่าจะเหมาะกับตัวเอง และได้เรียนเอกประถมศึกษา แต่เรียนไปกลับไม่ใช่ตัวเอง ย้ายไปสาขาบริหารธุรกิจที่คิดว่าน่าจะตรงกับตัวเองมากที่สุด เข้ามาเรียนได้สักพักก็ได้คุยกับ แชมป์ กิตติชัย วรรณ์ประเสริฐ พอเข้าสู่การเรียนปริญญาโท แชมป์ได้ทำงานที่กรุงเทพฯ ทำให้ได้มีโอกาสทำโปรเจกต์ร่วมกันคือประกวดหนังสั้น และได้เข้ารอบลึก ๆ มันทำให้เห็นว่าเราสองคนมีอะไรที่อยากทำคล้ายกัน มีความต้องการเหมือนกัน และเกิดความสนุก “ชวนแชมป์มาร่วมก่อตั้ง” บริษัท วันนี้วันดี โปรดักชั่น ขึ้นมา
Passion ของผู้อำนวยการสร้าง
เหตุผลของการเข้ามาทำหนัง คือสนุกที่ได้เห็นความนิยมของหนังไทย และที่ตัดสินใจทำ โปรเจกต์ Hurts Like Hell เพราะอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการ อยากเห็นตัวเลือกใหม่ ๆ แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มเดียว ไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบ 20 ปีก่อนไหม ที่วงการหนังไทยได้รับความนิยมทั้งในและโด่งดังในต่างประเทศ ก็ยังอยากผลักดัน ให้เป็นจริง
อาชีพ Executive Producer กับสิ่งที่ต้องทำเพื่อสร้างความสมดุล
การเป็น Executive Producer ต้องทำหน้าที่ดูแลทั้งหมดตั้งแต่ Pre-Production, Production Post-Production แต่หลัก ๆ จะเป็นงานวางแผน วางกลยุทธ์ ทิศทางของโทนทั้งหมด กำหนดงบประมาณ เลือกทีมงานให้เหมาะสมกับแต่ละงาน เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด ในส่วนของ Pre-Production ต้องใช้เวลากับช่วงนี้ค่อนข้างมาก และแต่ละโปรเจกต์ใช้เวลาไม่เท่ากัน บางทีต้อง on air แล้ว มีกำหนดการออกมา ต้องหาทางลัดหลาย ๆ อย่าง ทำให้งานออกมาดีที่สุดพร้อมนำเสนอ
Hurts Like Hell ในฐานะ Executive Producer
อย่าง Hurts Like Hell ก็ต้องใช้เวลากับมันมากหน่อย ทั้งการไปดูสถานที่จริง สัมภาษณ์ หานักแสดง หาข้อมูล เขียนบท ซึ่ง Executive Producer ก็ต้องคอยดูแล ควบคุม อำนวยความสะดวก คอยสนับสนุนทีมงาน อีกส่วนที่สำคัญของงานนี้คือการเลือกคนเข้ามาร่วมทีม ถ้าเลือกทีมงานที่ใช่ เหมาะสมมาแต่แรก จะได้งานออกมาต่างจากเลือกคนที่ไม่ใช่มาทำ ในขั้น Production ก็ไม่ต่างกัน ช่วยแก้ไขปัญหา และในขั้น Post-Production จะมีคนที่เชี่ยวชาญแต่ละด้านมา เราก็ต้องอำนวยความสะดวกให้ คอยสนับสนุน สิ่งสำคัญต้องตัด Ego ออกไป แล้วเชื่อใจทีมงาน หลายครั้งมีการถ่ายซ่อม เพิ่มนู่นนี่บ้าง เราก็ต้องทำหน้าที่สนับสนุนไม่ใช่ตั้งคำถามว่าใช้ทำไม ทำทำไม เพราะโจทย์แรกของเราเลยคือ ต้องทำให้ดีที่สุด
ควบคุมการผลิตที่ต้องขายงานด้วย
พอได้งานออกมาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว การไปขายกระดาษไม่ง่ายเลย ในยุคนี้ และใช้งบประมาณค่อนข้างเยอะ ถ้าไปหานายทุนมา แน่นอนว่าเขาต้องเลือกให้เงนกับคนที่มีชื่อเสียงกว่า มีผลงานมาก่อนอยู่แล้ว จึงเกิดรูปแบบว่าเราต้องทำออกมาก่อน ให้เป็นรูปเป็นร่างแล้วจึงเอาออกขาย เรื่อง Hurts Like Hell ก็นำไปเสนอให้ Netflix ที่แรกเลย แล้วเขาสนใจ ได้นัดคุยต่อและตกลงที่จะนำเข้าไปฉายใน Streaming Platform ของเขา
ความรู้ ทักษะ ที่ Executive Producer ต้องมี
ในด้านความรู้ ต้องรู้เรื่อง Production การบริหารจัดการ และการเงิน เพื่อทำให้ทุกอย่างสมดุลและไปด้วยกันได้ อีกด้านคือ ทักษะต้องมีการเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้านไอเดียและการแก้ปัญหา ทักษะการปรับตัว และทักษะการสื่อสารก็สำคัญ เพื่อให้งานออกมาตอบโจทย์ด้านธุรกิจและด้านศิลปะด้วย
ฝากถึงน้อง ๆ
การเป็น Executive Producer ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่พร้อม เรื่องของ Conection และเงินทุนก็สำคัญ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี อยากให้เริ่มจากจุดแรกเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเก่ง แค่เข้าใจและรู้ว่าฝ่ายไหนทำอะไร จะช่วยให้การบริหาร จัดการ เป็นไปได้ ถึงแม้บางคนกำลังค้นหาตัวเองอยู่ การเจอตัวเองเร็วถือเป็นกำไร แต่ถ้าหาไม่เจอ ไม่ต้องกดดัน แต่ให้หาสิ่งที่ชอบให้เจอ การจะหาเจอว่าชอบอะไรคือต้องลงมือทำเยอะ ๆ มีโอกาสทำอะไร ลงมือทำ เมื่อเจอสิ่งที่ชอบแล้วค่อยมาคิดว่าจะเกิดเป็นรายได้ให้เราได้ไหม ถ้ายังหาไม่เจอ หาอะไรที่ยังชีพเราได้ก่อน
ลองทำอะไรเยอะ ๆ หาสิ่งที่ชอบ และอย่ายึดติดกับคำว่า อาชีพ
แชร์บทความนี้
บทความที่คนเข้าอ่านมากสุดประจำสัปดาห์

อาชีพ Paramedic ทีมแพทย์ฉุกเฉิน ที่น้อยคนจะรู้จัก
11944

คำดูถูกไม่สำคัญ ฉันจะทำงานอาร์ตที่ชอบ
1505

แพทย์ความงาม ที่ไม่ได้ทำเพื่อความสวยงามแต่ทำเพื่อรักษาโรคและความมั่นใจ
1084

รู้จัก ผู้ช่วยผู้กำกับ อาชีพที่ไม่ได้ช่วยแค่ผู้กำกับ
1015
